เมนู

เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะ เหมือนอย่างพราหมณ์ที่ชื่อว่า อาหรหัตถกะ
พราหมณ์ที่ชื่อว่า ภุตตวัมมิตกะ พราหมณ์ที่ชื่อว่าตัตถวัฏฏกะ
พราหมณ์ที่ชื่อว่า อลังสาฏกะ และพราหมณ์ที่ชื่อว่า กากมาสกะ
เป็นต้น นั่งในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน การทำสมณธรรม
อยู่ ถีนมิทธะย่อมครอบงำ เหมือนช้างใหญ่ฉะนั้น แต่เมื่อภิกษุหยุดพัก
คำข้าว 4-5 คำ แล้วดื่มน้ำเสีย พอทำอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ
ถีนมิทธะนั้น ก็ไม่มี แม้เมื่อภิกษุถือเอานิมิตในการบริโภคเกินไป
ดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้ ถีนมิทธะก้าวลงในอิริยาบถใด
เมื่อท่านเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสียก็ดี มนสิการ
ถึงแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งประทีป แสงสว่างแห่ง
คบเพลิง ตอนกลางคืน และแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ตอนกลางวันก็ดี
อยู่กลางแจ้งก็ดี คบกัลยาณมิตร ผู้ละถีนมิทธะได้แล้ว เสมือนกับ
พระมหากัสสปเถระก็ดี ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยการกล่าว
สัปปายกถาอันอิงธุดงคคุณ ในอิริยาบถมีการยืน และการนั่งเป็นต้น
ก็ย่อมละได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อม
เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ผู้มีจิตสงบแล้วด้วยฌาน หรือ
วิปัสสนา

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละอุทธัจจะ-
กุกกุจจะ คือความเป็นผู้พหูสูต ความเป็นผู้สอบถาม ความเป็นผู้
ชำนาญวินัย การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าว
ถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้เรียนได้ 1 นิกาย 2 นิกาย
3 นิกาย 4 นิกาย หรือ 5 นิกาย ด้วยอำนาจบาลี และด้วยอำนาจ
อรรถแห่งบาลี ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้ แม้ด้วยความเป็นพหูสูต
เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามในสิ่งที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถ
ยืนและนอนเป็นต้นก็ดี เป็นผู้ชำนาญ เพราะมีความช่ำชองชำนาญ
ในวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เฒ่าก็ดี คบ
กัลยาณมิตรผู้ทรงพระวินัย เสมือนกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละ
อุทธัจจะกุกกุจจะได้ ย่อมละได้แม้ด้วยคำอันเป็นสัปปายะ ที่อิงสิ่ง
ที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถยืนแลนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจะกุกกุจจะ
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า มนสิการอยู่ โดยอุบาย
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ
ความเป็นพหูสูต การสอบถาม ความเป็นผู้ชำนาญวินัย ความเป็นผู้
มากด้วยน้อมใจเชื่อ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำอันเป็น